แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ตัวยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ (irreversible inhibitor) เกี่ยวกับการทำลายหรือเปลี่ยนแปลง functional group 1 หมู่หรือมากกว่าที่จำเป็นสำหรับแอกติวีตีบนโมเลกุลของเอนไซม์ ซึ่งตัวยับยั้งแบบนี้จะจับ กับเอนไซม์อย่างแน่นทั้งแบบโควาเลนท์และนอนโควาเลนท์ เช่น ไอโอโดอะซีตาไมด์ (iodoaceta mide) จะทำปฏิกิริยากับ หมู่ -SH ของซิสเตอีน โดยการเกิดเป็นพันธะโควาเลนท์ 2. ตัวยับยั้ง แบบผันกลับได้ (reversible inhibitor) แบ่งเป็น 3 ชนิด
2.1 ตัวยับยั้งแบบแข่งขัน (competitive inhibitor) หมายถึง สารที่สามารถเข้า ไปแย่งสับสเตรทจับที่บริเวณแอกตีฟบนโมเลกุลของเอนไซม์ แล้วทำให้แอกติวีตีในการเร่งปฎิกิริยา ของเอนไซม์ลดลง โดยค่า KM เปลี่ยน แต่ Vmax คงที่ เช่น กรดมาโลนิกสามารถจับเอนไซม์ซักซินิก ดีไฮโดรเจเนส (succinic dehydrogenase) ในฏิกิริยาการออกซิไดส์กรดซักซินิกไปเป็นกรด ฟูมาริก เพราะมีโครงสร้างคล้ายกับกรดซักซินิก
2.2 ตัวยังยั้งแบบไม่แข่งขัน (noncompetitive inhibitor) หรือตัวยับยั้ง แบบผสม (mixed inhibitor) โดยตัวยับยั้งชนิดนี้จะเข้าไปจับที่บริเวณอื่นบนโมเลกุลของ เอนไซม์ที่ไม่ใช่บริเวณเร่งแต่ทำให้บริเวณเร่งเปลี่ยนไปจึงทำงานไม่ได้ เช่น Cu2+ Hg2+ และ Ag+ หรืออนุพันธ์ (derivative) ของมันสามารถทำปฏิกิริยากับ หมู่-SH ของซิสเตอีนทำให้โครงรูปสามมิติ (three dimensional conformation) ที่จำเพาะของเอนไซม์เสียไป ในกรณี noncompetitive inhibitor ค่า Vmax เปลี่ยนแปลง ส่วนกรณี mixed inhibitor จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งค่า KM และ Vmax
2.3 การยับยั้งแบบอันคอมเพติตีฟ (uncompetitive inhibition) การยับยั้ง แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อตัวยับยั้งเข้ารวมเฉพาะกับเอนไซม์สับสเตรทคอมเพลกซ์เท่านั้นแบบไม่ผันกลับ เกิดเป็น ESI คอมเพลกซ์ ซึ่งจะไม่ได้ผลผลิตเกิดขึ้น ลักษณะเหมือนกับการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน โดยไม่เกิดการ ผันกลับ (reversible) เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสับสเตรท
อ้างอิง : http://www.vcharkarn.com/vcafe/53730