10/8/54

กิจกรรมศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์




เอนไซม์เป็นโปรตีนที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalytic protein)ปัจจัยที่ส่งผลต่อโปรตีนมีผลโดยตรงต่ออัตราการเร่งของเอนไซม์ เช่นอุณหภูมิ พีเอช (pH)นอกจากนี้ความเข้มข้นของเอนไซม์ก็มีผลต่ออัตราการทำงานของเอนไซม์ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงอัตราปฏิกิริยาการทำงานของเอนไซม์เมื่อความเข้มข้นของเอนไซม์ต่างกัน และที่อุณหภูมิต่างกัน

วัสดุและอุปกรณ์
1.หลอดทดลอง
2.น้ำลาย
3.น้ำกลั่น
4.กระบอกตวง50มล.
5.บีกเกอร์100มล.
6.ปิเปตต์
7.บัฟเฟอร์
8.เครื่องต้มน้ำ(
waterbath)

9.เทอร์โมมิเตอร์
10.น้ำแป้ง
11.สารละลายไอโอดีน
12.นาฬิกาจับเวลา
13.หลอดหยด
14.กระดาษวัด
pH

15.กระดาษวัดpH
การทดลองที่1ความเข้มข้นของเอนไซม์กับอัตราการเกิดของปฏิกิริยา
วิธีการทดลอง
1.รองน้ำลายใส่บีกเกอร์ประมาณ5มล.

2.ใช้ปิเปตต์ดูดน้ำลาย 1 มล. ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 แล้วใช้กระบอกตวงน้ำประปา 9 มล. ใส่ลงไปผสมให้เข้ากัน ทำเช่นเดียวกันกับบีกเกอร์ใบที่ 2
, 3 และ 4 แต่ใช้กระบอกตวงน้ำประปาใส่ลงไปจำนวน 9, 19, 49 และ 99 มล. ตามลำดับ ทำให้ความเข้มข้นของน้ำลายเท่ากับ 10 %, 5 %, 2 %, และ 1 % ตามลำดับ

3.ใช้ปิเปตต์ดูดน้ำลายที่มีความเข้มข้น 4 อย่างในข้อ 2 ลงในหลอดทดลอง หลอดละ 1 มล. 4 หลอด แล้วเขียนป้ายติดที่หยอดให้ชัดเจน

4.นำหลอดทดลองมาอีก 4 หลอด ใช้ปิเปตต์ดูดแป้งละลายน้ำลงไปในหลอดทดลอง หลอดละ 2 มล. (แป้ง 0.2 กรัม ละลายใน
NaCl 0.25 % จำนวน 100 มล.) และเติมน้ำยาบัฟเฟอร์ pH
6.8 หลอดละ 2 มล.

5.นำหลอดทดลองทั้ง 2 ชุดข้อ 3 และข้อ 4 (8 หลอด) ลงแช่ในเครื่องต้มน้ำอุณหภูมิ 37 องศาเซลล์เซียส ทิ้งไว้สักครู่ให้อุณหภูมิได้ 37 องศาเซลล์เซียสโดยทั่วถึง

6.จับเวลาขณะที่หยิบหลอดแป้ง 1 หลอด เทแป้งลงในหลอดน้ำลายที่เข้มข้น 10 % (เข้มข้นที่สุด) เขย่าให้เข้ากัน จดเวลาที่เทแป้งกับน้ำลายไว้ รีบวางลงในอ่างเช่นเดิม

7.ทดสอบหาแป้งในส่วยผสมดังนี้ หยดสารละลายไอโอดีน (
I 0.01 M + KI 0.01 M) ลงบนจานหลุมพลาสติก 1 หยด แล้วใช้หลอดหยดอีกหลอดหนึ่งนำแห้งผสมน้ำลายมาหยดลงบนไอโอดีน 1 หยด (ไม่ควรทิ้งไอโอดีนในจานหลุมไว้นานเกิด 3 นาที) ทำทันที เมื่อผสมน้ำแป้งกับน้ำลายแล้วรีบดูดมาทดสอบทันทีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่อจากนี้ไปให้ทดสอบทุกๆ 10 วินาที ทดสอบครั้งแรกควรได้สีน้ำเงิน ทดสอบต่อไปจนไม่เกิดสีอะไร สังเกตและจดสีที่เกิดขึ้นจนปฏิกิริยาถึงจุดจบ (end point)
คือหยดแป้งบนไอโอดีนได้สีไอโอดีนเช่นเดิม

8.ดำเนินตามข้อ 6 และ 7 โดยใช้น้ำลายเข้มข้น 5 %
,
2 % และ 1 % โดยทำไปพร้อมๆ กันเพื่อประหยัดเวลา และเวลาที่ดูดตัวอย่างจากหลอดทดลองมาทดสอบกับไอโอดีนอาจขยายไปเป็นทุก 20-30 วินาที ตามความเหมาะสม


การบันทึกผลการทดลอง

1.ให้เขียนกราฟแสดงเวลาที่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจนถึงจุดจบ กับความเข้มข้นของน้ำลาย (อัตราความเร็วของปฏิกิริยา คือส่วนกลับของเวลา)
2.ให้เปรียบเทียบความแรง (
activity) ของน้ำลายที่ท่านใช้กับน้ำลายของคนอื่นๆ ผู้ร่วมการทดลองโดยใช้ตัวเลขที่แสดงนาทีที่ถึงจุดจบ สำหรับน้ำลาย 2 % แสดงค่าต่ำสุด สูงสุด และค่าของทั้งห้องเรียน

การทดลองที่2อุณหภูมิกับอัตราของปฏิกิริยา
วิธีการทดลอง
ให้เลือกน้ำลายที่มีความเข้มข้นพอเหมาะเพียงหลอดเดียว คือใช้ระยะเวลา 3-4 นาที ก็ถึงจุดจบปฏิกิริยา ให้วัดปฏิกิริยาที่ 0 องศาเซลเซียส(แช่บนน้ำแข็ง) ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และ 100 องศาเซลเซียส สำหรับ 0 องศาเซลเซียส และ 100 องศาเซลเซียสนั้น เมื่อพบว่าปฏิกิริยาเกิดช้ามาก ก็ให้ขยายเวลาทดสอบออกไปเป็นทุกๆ 1 หรือ 5 หรือ 10 นาที

บันทึกผลการทดลอง
เขียนกราฟใช้เวลาเป็นเศษส่วนของนาที (ที่ถึงจุดจบ) กับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียส ปฏิกิริยาจะเร็วขึ้นประมาณ 2-3 เท่า เมื่ออุณหภูมิร้อนขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่เอนไซม์ถูกทำลาย ปฏิกิริยาจะลดลง และก่อนลดลงนั้นย่อมเป็นอัตราที่สูงที่สุดและอุณหภูมิที่อัตราสูงสุดนี้คืออุณหภูมิพอดี








อ้างอิง : http://www.moomsci.com/mscib/viewtopic.php?f=8&t=1152